3.6.10

พลังงานแสงอาทิตย์จากการตรวจวัด

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2543 เพื่อให้ได้รับข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดถูกต้องและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในด้านการวิจัย พัฒนาและประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจตรวจวัดได้แก่ เครื่องมือวัดความเข้มแสงอาทิตย์ เป็นการวัดรังสีรวมของความเข้มแสงอาทิตย์ เครื่องมือที่ใช้เรียกว่า ไพราโนมิเตอร์ (Pyranometer) ซึ่งปัจจุบันที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานใช้วัดมี 2 ชนิด คือ

1. ไพราโนมิเตอร์ ที่ใช้ Thermomechanical Sensor หรือแบบ Bimetallic ซึ่งมี sensor เป็นแถบโลหะ 2 แถบ โดยแถบหนึ่งเป็นสีขาว และอีกแถบหนึ่งเป็นสีดำ เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบแถบสีดำจะดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ และขยายตัวได้มากกว่าแถบสีขาว แรงที่เกิดจากการขยายตัวดังกล่าวจะไปขับเคลื่อนหัวปากกาให้บันทึกข้อมูลเป็นลายเส้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งพันติดรอบกระบอกกลมที่มีการขับเคลื่อนด้วยระบบไขลาน หรือระบบนาฬิกาใช้แบตเตอรี่

2. ไพราโนมิเตอร์ ที่ใช้ Thermoelectric Sensor หรือแบบ Thermopile ซึ่งมี sensor ทำด้วยโลหะ 2 ชนิด ซึ่งเชื่อมปลายทั้งสองติดกันโดยปลายข้างหนึ่งทำหน้าที่เป็น hot junction และอีกข้างหนึ่งเป็น cold junction เมื่อ hot junction ถูกรังสีดวงอาทิต์ตกกระทบจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของ junction ทั้งสอง และก่อให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force) ขึ้นในวงจรที่ประกอบด้วยโลหะทั้งสองจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถนำไปคำนวณหาความเข้มแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบได้



ปัจจุบัน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานมีสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ จำนวน 37 สถานี ดังนี้

1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

17 ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

2. สถานีอุตุนิยมวิทยาทองผาภูมิ กรมอุตุนิยมวิทยา

38/1 หมู่ 1 ถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

3. สถานีอุตุนิยมวิทยากาญจนบุรี กรมอุตุนิยมวิทยา

2/60 ถนนอู่ทอง ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

4. สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบัวชุม กรมอุตุนิยมวิทยา

ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

5. สถานีอุตุนิยมวิทยานครสวรรค์ กรมอุตุนิยมวิทยา

36/13 หมู่ 1 ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

6. ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจังหวัดพิษณุโลก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

80 หมู่ 3 ตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

7. สถานีตรวจอากาศดอยมูเซอ กรมอุตุนิยมวิทยา

ถนนตาก-แม่สอด ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก

8. สถานีอุตุนิยมวิทยาเพชรบูรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยา

ถนนสามัคคีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

9. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดน่าน กรมชลประทาน

หมู่ 2 ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

10. สถานีอุตุนิยมวิทยาแพร่ กรมอุตุนิยมวิทยา

73/1 หมู่ 2 ถนนช่อแฮ ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

11. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 5 (เชียงราย) กรมทรัพยากรน้ำ

257 หมู่ 1 บ้านสันตาลเหลือง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

12. ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจังหวัดเชียงใหม่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

147 หมู่ 8 หลังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

13. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกแม่กลาง) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

กม.9 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

14. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

หมู่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

15. ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์

ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

16. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแม่สะง่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

หมู่ 8 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

17. สถานีอุตุนิยมวิทยาแม่สะเรียง กรมอุตุนิยมวิทยา

ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

18. สถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรเลย กรมอุตุนิยมวิทยา

81 หมู่ 8 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

19. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ

174 หมู่ 1 ถนนแจ้งวรวุฒิ ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

20. ศูนย์อุตุนิยมวิทยานครพนม กรมอุตุนิยมวิทยา

272 ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลหนองแสง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

21. สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา กรมอุตุนิยมวิทยา

916 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

22. สถานีเรดาห์ตรวจอากาศขอนแก่น กรมอุตุนิยมวิทยา

ใกล้ท่าอากาศยานขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

23. สถานีตรวจอากาศเกษตรร้อยเอ็ด กรมอุตุนิยมวิทยา

ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

24. สถานีตรวจอากาศเกษตรสุรินทร์ กรมอุตุนิยมวิทยา

หมู่ 4 ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

25. สถานีอุตุนิยมวิทยาตราด กรมอุตุนิยมวิทยา

565 หมู่ 2 ถนนราษฏร์บำรุง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

26. สถานีอุตุนิยมวิทยาชลบุรี กรมอุตุนิยมวิทยา

44 หมู่ 4 ถนนวชิรปราการ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

27. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดปราจีนบุรี กรมชลประทาน

309/1 หมู่ 2 ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

28. สถานีอุตุนิยมวิทยาประจวบคีรีขันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา

239 ถนนสวนสน ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

29. สถานีอุตุนิยมวิทยาระนอง กรมอุตุนิยมวิทยา

4/6 หมู่ 1 ถนนขัดสรรพัฒนา ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

30. สถานีอุตุนิยมวิทยาชุมพร กรมอุตุนิยมวิทยา

148 ถนนกรมหลวงชุมพร ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

31. สถานีอุตุนิยมวิทยาสุราษฏร์ธานี (พุนพิน) กรมอุตุนิยมวิทยา

หมู่ 3 ทางเข้าสนามบินสุราษฎร์ธานี ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

32. สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสมุย กรมอุตุนิยมวิทยา

438 หมู่ 1 ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

33. ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจังหวัดสงขลา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

90 หมู่ 3 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

34. สถานีอุตุนิยมวิทยาตรัง กรมอุตุนิยมวิทยา

142 หมู่ 12 ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

35. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก กรมอุตุนิยมวิทยา

221 หมู่ 6 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

36. สถานีอุตุนิยมวิทยานราธิวาส กรมอุตุนิยมวิทยา

ถนนภูผาภักดี ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

37. สถานีอุตุนิยมวิทยาสระแก้ว กรมอุตุนิยมวิทยา

3 ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว


ผลการตรวจวัดข้อมูลความเข้มแสงอาทิตย์
ปี พ.ศ. 2545
ปี พ.ศ. 2546
ปี พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ. 2549
ปี พ.ศ. 2550

ข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลดาวเทียม (เป็นค่ารวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือนของจังหวัดและอำเภอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2541)
ข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย
ขอข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์

Pages

HOME