3.6.10

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อแสงสว่างในครัวเรือน

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อแสงสว่างในครัวเรือน
(Solar Home System)

เป็นระบบแบบอิสระ (PV Stand Alone System) ที่ออกแบบให้มีขนาดกำลังผลิตของระบบประมาณ 120 วัตต์ – 150 วัตต์ต่อระบบ สามารถรองรับการใช้งานเพื่อแสงสว่างจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 2 หลอด หรือขนาด 18 วัตต์ จำนวน 1 หลอด และการรับฟังข่าวสารจากรายการโทรทัศน์ขนาดไม่เกิน 14 นิ้วของแต่ละครัวเรือนในชนบท ที่อยู่ห่างไกลจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้วันละประมาณ 3 - 5 ชั่วโมง ตามสถานภาพกำลังไฟฟ้าที่ประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่แต่ละวัน โดยมีลักษณะรูปแบบระบบดังนี้
ภาพแสดงรายละเอียดการจัดตั้งอุปกรณ์ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
เพื่อแสงสว่างในครัวเรือน
รูปแบบของระบบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อแสงสว่างในครัวเรือน

อุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ประกอบด้วย
1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาด 120 วัตต์ – 150 วัตต์ พร้อมโครงสร้างรองรับแผง
2. อุปกรณ์ควบคุมการประจุและการจ่ายไฟฟ้า
3. แบตเตอรี่ ขนาดไม่น้อยกว่า 100 แอมป์– ชั่วโมง
4. ชุดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 10 วัตต์ – 18 วัตต์ 2 หลอด

พลังงานแสงอาทิตย์จากการตรวจวัด

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2543 เพื่อให้ได้รับข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดถูกต้องและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในด้านการวิจัย พัฒนาและประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจตรวจวัดได้แก่ เครื่องมือวัดความเข้มแสงอาทิตย์ เป็นการวัดรังสีรวมของความเข้มแสงอาทิตย์ เครื่องมือที่ใช้เรียกว่า ไพราโนมิเตอร์ (Pyranometer) ซึ่งปัจจุบันที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานใช้วัดมี 2 ชนิด คือ

1. ไพราโนมิเตอร์ ที่ใช้ Thermomechanical Sensor หรือแบบ Bimetallic ซึ่งมี sensor เป็นแถบโลหะ 2 แถบ โดยแถบหนึ่งเป็นสีขาว และอีกแถบหนึ่งเป็นสีดำ เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบแถบสีดำจะดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ และขยายตัวได้มากกว่าแถบสีขาว แรงที่เกิดจากการขยายตัวดังกล่าวจะไปขับเคลื่อนหัวปากกาให้บันทึกข้อมูลเป็นลายเส้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งพันติดรอบกระบอกกลมที่มีการขับเคลื่อนด้วยระบบไขลาน หรือระบบนาฬิกาใช้แบตเตอรี่

2. ไพราโนมิเตอร์ ที่ใช้ Thermoelectric Sensor หรือแบบ Thermopile ซึ่งมี sensor ทำด้วยโลหะ 2 ชนิด ซึ่งเชื่อมปลายทั้งสองติดกันโดยปลายข้างหนึ่งทำหน้าที่เป็น hot junction และอีกข้างหนึ่งเป็น cold junction เมื่อ hot junction ถูกรังสีดวงอาทิต์ตกกระทบจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของ junction ทั้งสอง และก่อให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force) ขึ้นในวงจรที่ประกอบด้วยโลหะทั้งสองจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถนำไปคำนวณหาความเข้มแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบได้



ปัจจุบัน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานมีสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ จำนวน 37 สถานี ดังนี้

1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

17 ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

2. สถานีอุตุนิยมวิทยาทองผาภูมิ กรมอุตุนิยมวิทยา

38/1 หมู่ 1 ถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

3. สถานีอุตุนิยมวิทยากาญจนบุรี กรมอุตุนิยมวิทยา

2/60 ถนนอู่ทอง ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

4. สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบัวชุม กรมอุตุนิยมวิทยา

ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

5. สถานีอุตุนิยมวิทยานครสวรรค์ กรมอุตุนิยมวิทยา

36/13 หมู่ 1 ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

6. ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจังหวัดพิษณุโลก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

80 หมู่ 3 ตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

7. สถานีตรวจอากาศดอยมูเซอ กรมอุตุนิยมวิทยา

ถนนตาก-แม่สอด ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก

8. สถานีอุตุนิยมวิทยาเพชรบูรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยา

ถนนสามัคคีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

9. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดน่าน กรมชลประทาน

หมู่ 2 ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

10. สถานีอุตุนิยมวิทยาแพร่ กรมอุตุนิยมวิทยา

73/1 หมู่ 2 ถนนช่อแฮ ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

11. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 5 (เชียงราย) กรมทรัพยากรน้ำ

257 หมู่ 1 บ้านสันตาลเหลือง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

12. ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจังหวัดเชียงใหม่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

147 หมู่ 8 หลังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

13. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกแม่กลาง) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

กม.9 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

14. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

หมู่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

15. ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์

ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

16. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแม่สะง่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

หมู่ 8 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

17. สถานีอุตุนิยมวิทยาแม่สะเรียง กรมอุตุนิยมวิทยา

ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

18. สถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรเลย กรมอุตุนิยมวิทยา

81 หมู่ 8 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

19. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ

174 หมู่ 1 ถนนแจ้งวรวุฒิ ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

20. ศูนย์อุตุนิยมวิทยานครพนม กรมอุตุนิยมวิทยา

272 ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลหนองแสง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

21. สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา กรมอุตุนิยมวิทยา

916 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

22. สถานีเรดาห์ตรวจอากาศขอนแก่น กรมอุตุนิยมวิทยา

ใกล้ท่าอากาศยานขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

23. สถานีตรวจอากาศเกษตรร้อยเอ็ด กรมอุตุนิยมวิทยา

ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

24. สถานีตรวจอากาศเกษตรสุรินทร์ กรมอุตุนิยมวิทยา

หมู่ 4 ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

25. สถานีอุตุนิยมวิทยาตราด กรมอุตุนิยมวิทยา

565 หมู่ 2 ถนนราษฏร์บำรุง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

26. สถานีอุตุนิยมวิทยาชลบุรี กรมอุตุนิยมวิทยา

44 หมู่ 4 ถนนวชิรปราการ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

27. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดปราจีนบุรี กรมชลประทาน

309/1 หมู่ 2 ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

28. สถานีอุตุนิยมวิทยาประจวบคีรีขันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา

239 ถนนสวนสน ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

29. สถานีอุตุนิยมวิทยาระนอง กรมอุตุนิยมวิทยา

4/6 หมู่ 1 ถนนขัดสรรพัฒนา ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

30. สถานีอุตุนิยมวิทยาชุมพร กรมอุตุนิยมวิทยา

148 ถนนกรมหลวงชุมพร ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

31. สถานีอุตุนิยมวิทยาสุราษฏร์ธานี (พุนพิน) กรมอุตุนิยมวิทยา

หมู่ 3 ทางเข้าสนามบินสุราษฎร์ธานี ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

32. สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสมุย กรมอุตุนิยมวิทยา

438 หมู่ 1 ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

33. ศูนย์ทดลองวิชาการพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจังหวัดสงขลา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

90 หมู่ 3 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

34. สถานีอุตุนิยมวิทยาตรัง กรมอุตุนิยมวิทยา

142 หมู่ 12 ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

35. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก กรมอุตุนิยมวิทยา

221 หมู่ 6 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

36. สถานีอุตุนิยมวิทยานราธิวาส กรมอุตุนิยมวิทยา

ถนนภูผาภักดี ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

37. สถานีอุตุนิยมวิทยาสระแก้ว กรมอุตุนิยมวิทยา

3 ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว


ผลการตรวจวัดข้อมูลความเข้มแสงอาทิตย์
ปี พ.ศ. 2545
ปี พ.ศ. 2546
ปี พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ. 2549
ปี พ.ศ. 2550

ข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลดาวเทียม (เป็นค่ารวมรายวันเฉลี่ยต่อเดือนของจังหวัดและอำเภอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2541)
ข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย
ขอข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์

ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์



จากแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2542) โดยกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงานและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่าการกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ตามบริเวณต่างๆ ในแต่ละเดือนของประเทศ ได้รับอิทธิพลสำคัญจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดระหว่างเดือนเมษายน และพฤษภาคม โดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 ถึง 24 MJ/m2-day เมื่อพิจารณาแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปี พบว่าบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี และบางส่วนของภาคกลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท อยุธยา และลพบุรี โดยได้รับรังสีดวงอาทิตย์เลี่ยนทั้งปี 19 ถึง 20 MJ/m2-day พื้นที่ดังกล่าวคิดเป็น 14.3% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า 50.2% ของพื้นที่ทั้งหมดได้รับรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ในช่วง 18-19 MJ/m2-day จากการคำนวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.2MJ/m2-day จากผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง



หากท่านต้องการทราบรายละเอียดโครงการสามารถดูได้ที่ สรุปโครงการ และหากต้องการทราบข้อมูลความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์เป็นรายเดือน ท่านสามารถที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนที่พลังงานแสงอาทิตย์

2.6.10

พลังงานแสงอาทิตย์ ยังรอการพัฒนาในด้านใดบ้าง


การจะให้พลังงานแสงอาทิตย์ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้พลังงานทั่วโลก เซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) ในปัจจุบันต้องมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ อย่างๆไรก็ดีการพัฒนาใหม่ๆก็ทำให้มันมีความเป็นไปได้มากขึ้น อันที่จริง ประสิทธิภาพของ solar cell ได้พัฒนาให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 40 ปีที่ผ่านมา และด้วยกำลังผลิตที่มากขึ้น ค่าติดตั้งของแผง solar cell ก็ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ยอดขายที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาของพลังงานแสงอาทิตย์ลดลง 7% ต่อปี ตั้งแต่ปี 1992-2003 แต่ถึงกระนั้น ราคาก็ยังต้องลดลงมากกว่านี้อีก 10 ถึง 100 เท่า ถึงจะทำให้ราคาต่ำพอที่จะแข่งขันกับแหล่งพลังงานไฟฟ้าอื่นๆ ใช้ในการคมนาคม และใช้เป็นแหล่งพลังงานให้ความร้อนตามครัวเรือนทั่วไปได้ ในการที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านราคานี้ กรมพลังงานของอเมริกาได้รายงานถึง หัวข้อสำคัญสำหรับการวิจัยด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีดังนี้

ต้องมีวิวัฒนาการรูปแบบของ เซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (Photovoltaic cell)
แผง solar cell มาตรฐานสามารถแปลง หนึ่งในสาม ของพลังงานจากโฟตอนที่มาชนมันไปเป็นกระแสไฟฟ้า แต่บางโฟตอนก็ไม่มีพลังงานมากพอที่จะกระตุ้นอิเล็กตรอนใน solar cell หรือโฟตอนบางตัวที่มีพลังงานมากเกินก็ปล่อยออกมาเป็นความร้อน คือถึงแม้ว่าโฟตอนที่มาชนมีพลังงานมากแต่ solar cell ก็ไม่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นตาม อย่างไรก็ดี การวิจัยใหม่ๆชี้ให้เห็นว่า เราอาจจะกักเก็บพลังงานที่มากเกินเหล่านี้ด้วย สารจำพวกตะกั่วที่มีขนาดในระดับนาโนเมตร ที่สามารถกระตุ้นมากกว่าหนึ่งอิเล็กตรอน จากหนึ่งโฟตอนที่มาชนได้ แต่ว่าเทคนิคนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงใน solar cell

พลาสติกเซลล์
solar cell ที่สร้างจากสารอินทรีย์ รวมถึงโพลีเมอร์ราคาถูก จะลดราคาของไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลงอย่างมาก แต่พลาสติกเซลล์ในปัจจุบันนี้ยังมีประสิทธิภาพต่ำอยู่ นั่นคือส่วนใหญ่สามารถแปลงเพียง 2% ของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับไปเป็นกระแสไฟฟ้า การค้นพบวัตถุดิบใหม่ๆหรือการออกแบบใหม่ๆอาจช่วยเพิ่มตัวเลขนี้ให้เพิ่มขึ้นได้

นาโนเทคโนโลยี
ถึงแม้ว่า solar cell แบบคริสตัล ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพประมาณ 30% การผลิตซิลิกอนคริสตัลเองก็ใช้พลังงานมาก และมีราคาแพง ผู้ผลิต solar cell ได้เริ่มหันมาใช้เทคนิคการผลิตทางเคมีที่มีราคาถูกลงในการสร้าง semiconductor คริสตัลขนาดระดับนาโนใส่เข้าไปใน solar cell ซึ่งทำให้ค่าผลิตถูกลงกว่าเดิมอย่างมาก แต่ประสิทธิภาพของเซลล์เหล่านี้ยังอยู่ที่แค่ 10% หรือน้อยกว่า นักวิจัยอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เหล่านี้ได้ ถ้าสามารถหาวิธีจัดเรียงอนุภาคนาโนเสียใหม่ ให้ขนย้ายอิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้นหลายๆตัวออกจากเซลล์ได้

จากอากาศและน้ำ สู่เชื้อเพลิง
แสงอาทิตย์สามารถแยกโมเลกุลน้ำเป็น ออกซิเจนและ ก๊าซไฮโดรเจนได้ ซึ่งอยู่ในรูปที่สามารถกักเก็บ ขนส่งผ่านท่อ และสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงของยานพาหนะ หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ แต่ในจุดนี้ ประเด็นเรื่องประสิทธิภาพก็เป็นปัญหาเช่นกัน ตัวกระตุ้น (catalyst) ที่ใช้แยกโมเลกุลน้ำสามารถดูดซึมเพียงไม่กี่ % ของพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ได้รับ และก็มีบ่อยๆที่มันไม่เสถียรพอในเซลล์ที่ใช้จริง ปัญหานี้คงจะแก้ได้ถ้านักวิจัยสามารถหา catalyst ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ และเสถียรกว่านี้ ที่น่าสนใจพอๆกันก็คือการหา catalyst ที่สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการแปลงคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศให้เป็นไฮโดรคาร์บอนที่พร้อมใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
ตัวรวมแสงอาทิตย์
ในปัจจุบัน ตัวสะท้อนที่ใช้รวมแสงอาทิตย์จำนวนมากให้ตกลงบน photovoltaic cell ตัวเดียว ได้ช่วยทำให้ค่าไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ถูกที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แล้วขณะนี้ นักวิจัยกำลังมองหารูปแบบที่คล้ายๆกันในการแยกโมเลกุลน้ำ เพื่อสร้างก๊าซไฮโดรเจน หรือเพื่อใช้แยกไฮโดรเจนก๊าซและคาร์บอนออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ตัวก่อปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องสามารถสะสมแสงอาทิตย์ได้มากพอถึงระดับ 2000 เคลวิน แต่ว่าที่อุณหภูมินี้ก็จะก่อให้เกิความร้อนที่ทำลายอุปกรณ์เซรามิกที่เป็นส่วนประกอบของตัวกระตุ้นปฏิกิริยาเคมีเสียเอง นั่นคือต้องมีเซรามิกทนความร้อนจึงจะสามารถทำให้เชื้อเพลิงจากแสงอาทิตย์เป็นจริงได้

http://www.vcharkarn.com/vnews/34904

Solar cell ชนิดใหม่จากสารอินทรีย์ (Pentacene)




Solar cell ชนิดใหม่จากสารอินทรีย์ (Pentacene) เพื่อการเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นไฟฟ้า

เนื่องจากราคาน้ำมันมีท่าทีว่าจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นพลังงานทดแทน (Renewable energy) ที่มีราคาค่าเชื้อเพลิงต่ำ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ตลาดทั่วโลกกำลังจับตามอง ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ อย่างแสงอาทิตย์จากแผง solar cell ที่สร้างขึ้นจากซิลิกอน ก็นับว่าเป็นหนึ่งวิธีที่ใช้พลังงานทดแทน แต่ยังไม่ได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ นั่นอาจเป็นเพราะว่าราคาต้นทุนที่ค่อนข้างสูงของ silicon-based solar cell จึงทำให้ค่าไฟที่ผลิตจากกระบวนการนี้สูงตามไปด้วย

ปัจจุบันทีมนักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology ได้ทำการคิดค้น solar cell ชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีส่วนประกอบหลักของ pentacene หรือสารประกอบคาร์บอน โดยมีลักษณะเป็นแผ่นบาง น้ำหนักเบา ดัดงอได้ และที่สำคัญก็คือ มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าและยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมากเมื่อเทียบกับราคาการผลิตของเซลล์ในปัจจุบันที่มีส่วนกระกอบหลักคือ ซิลิกอน

ลักษณะที่ทำให้สารอินทรีย์ Pentacene เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการผลิต solar cell ชนิดใหม่ก็คือ รูปทรงคริสตัล โดยโครงสร้างของอะตอมแบบคริสตัลนั้นช่วยให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านอะตอมได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับสารอินทรีย์ชนิดอื่นที่มีโครงสร้างแบบ Amorphous (ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน)

ในการทดลองครั้งแรก ทีมนักวิจัยได้สร้าง Solar cell ที่ทำจากโลหะผสม Pentacene ขึ้นมา แต่พบว่าเซลล์มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ จึงตัดสินใจเปลี่ยนวัสดุจากโลหะผสม Pentacene มาเป็นสารอินทรีย์ผสม C60 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ buckyballs ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟได้ในปริมาณที่มากกว่าอันก่อน ซึ่งในขณะนี้เซลล์ชนิดน้ำกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนารูปแบบและโครงสร้างอยู่ และเมื่อพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แล้ว Solar cell ชนิดนี้จะสามารถปฏิวัติการใช้ไฟในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมาก เพราะมันมีลักษณะที่ยืดหยุ่น ดังโค้งงอได้ และยังมีน้ำหนักที่เบาอีก ซึ่งมันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์เกือบทุกอย่าง ตั้งแต่เต็นท์ เพื่อสร้างแสงสว่างให้กับที่พักภายใน ไปจนถึงเสื้อผ้าเพื่อใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส่วนตัวก็ยังได้

หนึ่งในทีมนักวัยกล่าวว่า ภายใน 2 ปีข้างหน้า solar cell ชนิดนี้จะพร้อมใช้ในอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็กที่ใช้ความถี่ในระยะใกล้ (Radio-Frequency Identification (RFID) ที่มักนิยมใช้กันตามโรงงานทั่วไป แต่สำหรับอุปกรณ์ในภาคครัวเรือนอาจยังต้องรอการพัฒนาเซลล์ต่อไปอีก 5 ปี

1.6.10

เครื่องชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์



เครื่องชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ eneloop solar charger NC-SC1 ซึ่งได้รับรางวัล IDEA *
ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติด้านการออกแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เกณฑ์ต่างๆ ในการคัดเลือก รวมทั้งการออกแบบและประโยชน์ต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
--------------------------------------------------------------------------------
Specifications

eneloop solar charger Product Number NC-SC1

จุดเด่นๆของเครื่องชาร์จตัวนี้
- เครื่องชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ eneloop solar charger NC-SC1 สามารถชาร์จถ่าน sanyo eneloop ได้ทั้งขนาด AA และ AAA ครั้งละ 1-4 ก้อน หรือชาร์จผสมกัน โดยเป็นระบบ Quick Charger เต็มแล้วตัดอัตโนมัติ
- มีช่องต่อ USB output Type A สำหรับชาร์จอุปกรณ์มือ PDA GPS MP3 ผ่านช่อง USB ได้
- ใช้เทคโนโลยี แผงโซล่าร์เซลล์ HIT Solar Cell technology ซึ่งให้ประสิทธิ์ภาพในการแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ มากกว่าแผงโซล่าร์เซลล์ทั่วๆไป
- มีแบตเตอรี่ลิเที่ยมคุณภาพสูง อยู่ภายในเครื่อง eneloop solar charger NC-SC1 สำหรับเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ จำนวน 3 ชุด
Ref.:http://www.thaicharger.com/index.php?topic=403.0

ชาร์ปพร้อมขาย"ที่ชาร์จแสงอาทิตย์"สำหรับอุปกรณ์พกพาทั่วโลก


หลังจากโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง KDDI และ SoftBank เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ฝังระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ของชาร์ปในตัวมาแล้วหลากหลายรุ่น ล่าสุดชาร์ปประกาศพร้อมส่งระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอุปกรณ์พกพาออกไปจำหน่ายทั่วโลก ฟุ้งสามารถปรับได้ตามความต้องการของค่ายผู้ผลิตทุกราย

ระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ ชาร์ป พร้อมส่งไปจำหน่ายทั่วโลกมีชื่อว่า LR0GC02 Solar Module for Mobile Devices มาพร้อม แผงโซลาเซลล์ความหนาเพียง 0.8 มม. ทำลายสถิติเป็นระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ที่บางที่สุดในโลก

แผงโซลาเซลล์ของ LR0GC02 ทำมาจากโพลีคริสตอลลีนซิลิกอน สามารถให้พลังงานสูงสุด 300 mW ซึ่งหรูหราพอจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่นานาชนิด ชาร์ประบุว่ารูปแบบของการสร้างพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าใน LR0GC02 สามารถนำไปปรับเปลี่ยนให้รองรับมาตรฐานการผลิตต่างค่ายต่างบริษัทได้ เรียกว่ายืดหยุ่นเต็มที่สำหรับการนำไปติดตั้งในอุปกรณ์นานาชนิด

ระบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกผูกรวมไว้ในโทรศัพท์มือถือนั้นเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ผู้ใช้สามารถชาร์จพลังงานอุปกรณ์ได้ขณะอยู่นอกอาคาร สร้างความสะดวกสบายและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประกาศครั้งนี้ชี้ว่า โทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลกจะออกวางออกวางจำหน่ายในตลาดอย่างหนาตามากขึ้น


ที่มา www.thaisarn.com

หนิงเซี่ยจะสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นแห่งแรกของจีน


การใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากจะไม่ทำให้เกิดมลภาวะแล้ว ยังทำให้พื้นที่ที่เป็นทะเลทรายกลายเป็นพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ ขณะนี้ เมืองหลิงอู่ของเขตหนิงเซี่ยอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นแห่งแรกของจีนอย่างเป็นทางการ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมและชดเชยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการยกระดับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้อยู่ชั้นแนวหน้าของโลก
หนิงเซี่ยเป็นอีกหนึ่งเขตที่มีความสามารถด้านพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในระดับสูง มีแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่อุดมสมบูรณ์ โดยนครอิ๋นชวนติดอันดับ 3 ของ 31 มณฑลที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินโลก การวิจัยและพัฒนาการใช้พลังงานใหม่ ๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ การที่เขตหนิงเซี่ยเป็นมณฑลเดียวในภาคตะวันตกเฉียงเหนือที่ได้รับการขนานนามว่า “เมืองที่ประชาชนใช้ระบบน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาตรฐาน” บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์รุ่ยหมิง นครอิ๋นชวนเขตหนิงเซี่ย หลังจากที่ได้พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่หลายปี ได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้านเทคนิคการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

ต้นปี 2552 บริษัทรุ่ยหมิงได้สร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ 1,000 KW ในเขตทะเลทรายที่ห่างจากนครอิ๋นชวนไปทางทิศตะวันออก 5 กม. การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์นั้น จะใช้การสะท้อนของพลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นกระแสความร้อน กระแสความร้อนจะไหลผ่านแผงผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตกระแสไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงหรือน้ำเย็น ดังนั้นจึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือเกิดมลภาวะ ขณะเดียวกัน การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยแสงอาทิตย์ จึงต้องเลือกพื้นที่โล่งกว้างหรือทะเลทราย และการสร้างโรงงานจะต้องมีลักษณะพิเศษคือมีที่กำบังลมเพื่อไม่ให้ทรายพัดมารวมกัน นอกจากนี้ บนแผงรวมความร้อนกับพื้นดินมีความแตกต่างทางอากาศสูง จึงสามารถปลูกพืชเกษตรได้เป็นอย่างดี การสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ขนาด 1,000 KW นี้ จะทำให้ลดปริมาณการใช้ถ่านหินประมาณ 2,000 ตันและลดการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ถึง 30 ตัน

มือถือพลังงานแสงอาทิตย์



ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ได้แก่ ซัมซุงและแอลจี อีเลคทรอนิคส์ได้เปิดตัวโทรศัพท์พลังงานแสงอาทิตย์รุ่นใหม่ โดยรายละเอียดต่างๆที่ถูกแสดงไว้ในหน้าwebsiteของ Siamphone Dot Com ดังต่อไปนี้

Samsung E1107 มือถือพลังงานแสงอาทิตย์

ซัมซุงเปิดตัวSamsung E1107 Crest Solar โทรศัพท์มือถือที่ใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้ที่ฝาหลัง รับพลังงานแสงประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถใช้สนทนาได้นาน 5 ถึง 10 นาที รองรับเครือข่าย GSM 900/1800 MHz จอแสดงผล CSTN 65K สี ความละเอียด 128 x 128 พิกเซล เสียงเรียกเข้า MP3, Polyphonic มีไฟฉายในตัว เครื่องเล่นวิทยุ FM พร้อมด้วยระบบติดตามโทรศัพท์เมื่อสูญหาย

ข้อมูลทั่วไป Samsung E1107 Crest Solar - ซัมซุง E1107

เปิดตัวครั้งแรก 2 ธันวาคม 2009 (สยามโฟนฯ)
ออกวางจำหน่าย ไตรมาสที่ 4 ปี 2009 (พฤศจิกายน 52)
ราคามือถือ (เปิดตัว) 1,990 บาท (พฤศจิกายน 52)



ข้อมูลตัวเครื่อง (Spec)
ระบบ Dualband (GSM 900/1800 MHz)
จอแสดงผล CSTN 65,536 สีี 128 x 128 พิกเซล (1.52")
ปุ่มควบคุม 5 ทิศทาง (5 ways Navi-Key)
เสียงเรียกเข้า 40 Polyphonic
- ระบบสั่น (Vibration in Phone)
หน่วยความจำ - เมกะไบต์ (ตัวเครื่อง)
บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ 500 รายชื่อ (Phonebook)

ระบบเชื่อมต่อ (Connectivity)
รับ-ส่งข้อความ (Messaging)
- ข้อความสั้น SMS (บันทึกข้อความสูงสุด 300 ข้อความ)

จุดเด่น (Feature)
วิทยุ FM Radio
ไฟฉายส่องสว่าง (Flash light)
แฮนด์ฟรีในตัว (Build-In Handsfree)
ระบบติดตามโทรศัพท์เมื่อสูญหาย (Mobile Tracker)
นาฬิกาปลุก, เครื่องคิดเลข, นาฬิกาจับเวลา, นับเวลาถอยหลัง

การใช้งานของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่มาตรฐาน Li-Ion 800 mAh (Standard Battery)
เปิดรอรับสาย 570 ชั่วโมง (Standby Time)
สนทนาต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง (Talk Time)
ชาร์จแบตเตอรี่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Panel)
ชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชั่วโมง สนทนาได้ 10 นาที
ข้อมูลผู้ใช้ แสดงความเห็นกับ Samsung E1107 Crest Solar [PIC & VOTE]






LG สานต่อแนวคิดสีเขียวในงาน CommunicAsia 2009



แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอันล้ำสมัยในด้านการสื่อสารไร้สายระดับโลก จัดแสดงโทรศัพท์มือถือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพร้อมเทคโนโลยีฝาครอบ แบตเตอรี่แผงเซลล์สุริยะและบรรจุภัณฑ์สีเขียวในงาน CommunicAsia 2009 ซึ่งโทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกที่งาน Mobile World Congress 2009 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดสีเขียวของบริษัทและพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของแอลจี ที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของทุกคนยิ่งขึ้น
ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของโทรศัพท์มาพร้อมกับฝาครอบ แบตเตอรี่ เพื่อจัดการกับทุกข้อจำกัดของแสงอาทิตย์และการใช้พลังงานที่ปราศจากมลพิษ เพียงหันแผงเซลล์สุริยะของโทรศัพท์ไปหาแสงธรรมชาติเซลล์สุริยะจะเปลี่ยน พลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าโดยไม่ต้องเสียบสายชาร์จไฟ ซึ่งการเปิดรับแสงอาทิตย์ประมาณ 10 นาทีจะทำให้โทรศัพท์มีพลังงานเพียงพอสำหรับการใช้งานได้นาน 3 นาที เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้โทรศัพท์มือถือเป็นเพื่อนที่ดีแม้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อไม่สะดวกในการชาร์จไฟแบตเตอรี่ โดยโทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะวางจำหน่ายในยุโรปเป็นภูมิภาคแรกใน ช่วงปลายปีนี้ และจะจำหน่ายในตลาดอื่นๆ ต่อไป


แนวคิดสีเขียวของแอลจีไม่ได้หยุดเพียงแค่เทคโนโลยี สำหรับโทรศัพท์มือถือ โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาแอลจีได้เปิดตัว LG HFB-500 Bluetooth solar car kit ครั้งแรกที่งาน Consumer Electronics Show ในลาส เวกัส เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ชุดหูฟัง Bluetooth solar car kit ดังกล่าวชาร์จไฟโทรศัพท์มือถือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ แอลจีจะเปิดตัวบรรจุภัณฑ์สีเขียวสำหรับโทรศัพท์มือถือทุกรุ่นของบริษัทในปี 2552 ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างจริงจังพิมพ์ด้วยหมึกที่ ทำจากถั่วเหลือง ใช้กระดาษรีไซเคิล และใช้กระดาษแข็งที่ไม่เคลือบเงา โดย แอลจีจะยังคงขยายการใช้คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่ง ผลิตด้วยหมึกที่ทำจากถั่วเหลืองและกระดาษรีไซเคิลสำหรับมือถือแอลจีรุ่น ต่างๆ มากขึ้นในปี 2552


?แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ประกาศถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาดยิ่งขึ้นด้วย โปรแกรมการใช้ทรัพยากรโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทั่วโลกภายใต้ชื่อ ?Life?s Good When It?s Green? ที่งาน Consumer Electronics Show 2009 เมื่อเดือนมกราคม ผลของความพยายามเหล่านี้อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจน แต่เราเชื่อว่าจะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายต่อลูกค้าของเราและสังคมของเรา แอลจีจะยังคงเป็นผู้นำด้านการสื่อสารไร้สายที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม? Dr. Skott Ahn, President and CEO of LG Electronics Mobile Communications Company กล่าว


แคมเปญ ?Life?s Good When It?s Green? จะเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้ทรัพยากรโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมผ่านทาง Eco-Design และ Eco-Products โปรแกรม responsible take-back และโรงงานรีไซเคิล รวมถึงการพูดหรือกล่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทั่วโลก



ในปัจจุบัน แอลจี อีเลคทรอนิคส์ กำลังก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นในการลดการใช้สารที่เป็นพิษในผลิตภัณฑ์ และยังยึดมั่นกับข้อกำหนดที่เคร่งครัดที่ควบคุมโดย RoHS ของ EU เกี่ยวกับการจัดการสารที่เป็นพิษในตะกั่ว (Pb) แคดเมี่ยม (Cd) กำมะถัน (Hg) โครเมี่ยมเวเลนซีหก (Cr6+) polybrominated biphenyl (PBB) และ polybrominated diphenyl ether (PBDE) ในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังวางแผนที่จะทำให้โทรศัพท์มือถือของแอลจีปราศจากสารฮาโลเจน ซึ่งเป็น endocrine disruptor ด้วยการนำ Brominated flame retardants (BFR), chlorinated flame retardants (CFR) และ polyvinyl chloride (PVC) ออกจากกระบวนการผลิตภายในปี 2553 และจะทำให้โทรศัพท์มือถือปราศจาก antimony ภายในปี 2555

แก๊สห่วงยาง

เจ้าตำรับไก่ย่างพลังงานแสงอาทิตย์ ไอเดียเจ๋ง กักเก็บไอระเหยของน้ำมันเบนซินและน้ำมันโซล่าจากปั๊มหลอดมาใช้ในการหุงต้มโดยเรียกว่าแก๊สห่วงยาง

แก๊สห่วงยางที่ว่านี้เกิดขึ้นเพราะไอเดียของนายศิลา สุฑารัตน์ อายุ ๔๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๑๙ หมู่ ๗ ต.หนองโสน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เจ้าของต้นตำรับไก่ย่างพลังงานแสงอาทิตย์เจ้าเดียวและเจ้าแรกของโลก ซึ่งขณะนี้ได้มีอาชีพเสริมโดยการขายน้ำมันปั๊มหลอด โดยการขายแต่ละครั้งนั้นต้องผ่านขั้นตอนโดยการหมุนเพื่อให้น้ำมันที่อยู่ในถังน้ำมันขนาดใหญ่ถูกดันขึ้นมายังหลอดแก้วที่สามารถมองเห็นชนิดของน้ำมันได้ โดยการปั่นแต่ละครั้งนั้นจะมีแรงดันซึ่งเป็นแก๊สระเหยขึ้นเหนือหลอดแก้วโดยเป็นพลังงานสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่สำหรับนายศิลา กลับนำไอระเหยของน้ำมันที่สูญเปล่านั้นมากักเก็บไว้ในยางในรถยนต์ขนาดใหญ่เพื่อนำไปใช้เป็นแก๊สหุงต้มได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแก๊สหุงต้มใช้เลยแม้แต่บาทเดียว

จากการสอบถามนายศิลา สุฑารัตน์ เจ้าของไอเดียเล่าให้ฟังว่า มีความคิดที่จะกักเก็บก๊าซระเหยจากไอน้ำมันมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ แต่ไม่มีเวลาที่จะทำจนกระทั่งมาเปิดขายน้ำมันปั๊มหลอดดังกล่าวเพื่อเป็นรายได้เสริมจากการขายไก่ย่างพลังงานแสงอาทิตย์ โดยทุกครั้งที่ขายนั้นเมื่อหมุนน้ำมันจะต้องหมุนน้ำมันจากถังใหญ่เพื่อให้น้ำมันขึ้นมายังหลอดแก้วด้านบนจะเกิดไอระเหยขึ้นมา ซึ่งมองดูแล้วมีความคิดว่าไอระเหยนั้นน่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จึงทดลองใช้ถุงพลาสติกลองหุ้มดูปรากฏว่าถุงพลาสติกนั้นพองขึ้น แล้วนำมาจุดไฟดูที่ปากถุงปรากฏว่าเกิดไฟลุกได้ จึงมีความคิดที่จะนำสายยางขนาดพอดีกับช่องระเหยของไอน้ำมันจากโหลแก้วโดยต่อสายยางเข้ากับยางในรถยนต์ขนาดใหญ่จำนวน ๓ ห่วง เพื่อเก็บไอระเหยจากน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่ได้นั้นไว้ใช้เป็นแก๊สหุงต้มประกอบอาหาร ซึ่งเมื่อทดลองจุดปลายของสายยางที่ต่อเข้ากับยางในรถยนต์แล้วทำการจุดไฟที่ปลายสายยาง ผลปรากฏว่าเกิดไฟลุกที่ปลายสายยา ง จึงได้นำหัวของเตาแก๊สมาดัดแปลงต่อเข้ากับสายยางที่พ่วงด้วยห่วงยางเก็บไอระเหยจากน้ำมันหรือที่เรียกว่าแก๊สห่วงยางนั้น เมื่อจุดไฟก็สามารถใช้ได้เหมือนแก๊สปกติทั่วไปที่ใช้กันอยู่ทุกครัวเรือน
ทั้งนายศิลา ยังบอกอีกว่าห่วงยางที่ใช้สำหรับเก็บไอระเหยของน้ำมันนั้นต้องมีการอัดลมเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ห่วงยางนั้นมีแรงดันเต็มที่จึงจะสามารถนำมาต่อกับหัวเตาแก๊สได้ โดยประสิทธิภาพและคุณภาพที่ได้นั้นไม่แตกต่างจากแก๊สหุงต้มจากที่ซื้อมาจากร้านค้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดต้นทุนในการซื้อแก๊สหุงต้ม
ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านและที่สำคัญเป็นภูมิปัญญาที่คนส่วนมากนั้นน่าจะหันมาช่วยกันประหยัดและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในยุคน้ำมันแพงเช่นนี้ด้วย หากใครสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับแก๊สห่วงยางนี้สามารถโทรพูดคุยหรือมาดูด้วยตนเองได้ที่คุณ ศิลา สุฑารัตน์ หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๓๒๔๒-๘๒๕๐
///////////////////// (๒๐/๐๗/๔๙) ทีมข่าว รายงาน

เมล็ดกาแฟพลังงานแสงอาทิตย์



จากบทความ"กาแฟแดดเดียว"
http://www.clookclick.com/archives/274

กระแส Global warming ยังเป็นที่กล่าวขวัญกันไม่รู้จบ
และก็กลายเป็นหนึ่งในเงือนไขของการทำธุรกิจไปซะแล้ว
“ถ้าองค์กรของคุณ ไม่ใส่ใจโลก ไม่ใส่ใจธรรมชาติ องค์กรของคุณ คือ แกะดำ”
(กรุณา ทำเสียงขึงขัง และทำหน้าไม่มัน เหมือนคุณปลี้ม ด้วยนะครับ)

เป็นแบบนี้ หลายบริษัทจึงต้องบำเพ็ญตน เพื่อลูกค้ารู้ว่าเป็นคนดี
บางบริษัทตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมา เพื่อรองรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ

เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยน โอกาสทางธุรกิจ ย่อมเกิดขึ้น
เสือปืนไว ที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ก่อนใครเพื่อน คือเหล่าสำนักพิมพ์
หนังสือเกี่ยวกับเรื่องโลกร้อน และหนังสือที่เกี่ยวเนื่อง ประเภท CSR (ย่อมาจาก Corporate social responsibility) มีวางายเต็มแผงหนังสือหนังสือพิมพ์บางฉบับ เพิ่ม Section เรื่อง CSR ไปเลยเต็มๆหน้า

สินค้าที่เริ่มกล่าวถึงกันมากขึ้น คือ แผงโซลาเซลล์
แม้ขณะนี้ราคายังสูงอยู่ หากจะนำมาใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปคงไม่เหมาะ
แต่ผู้พัฒนาพลังงานจากแสงอาทิตย์ อย่าง Honda ที่ตั้งเป้าพัฒนา เพื่อนำมาใช้กับรถยนต์
ก็อาจเปลี่ยนใจ หันมาทำตลาดบ้านพักอาศัยมากขึ้น เพราะดูจะมีโอกาสทำตลาดได้ไม่ยาก หากภาวะโลกร้อนยังอยู่แบบนี้

แต่ผมชอบใจ ผู้ผลิตกาแฟในเมือง Pueblo มลรัฐ Colorado ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการคั่วกาแฟ
วิธีการไม่ได้ซับซ้อนอะไรครับ
ไม่ต้องแปลงพลังงานความเป็นพลังงานไฟฟ้า และจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แต่อย่างใด
ที่นี่ เขาติดตั้งกระจกหลายแผ่น เพื่อรวมแสงอาทิตย์ แล้ววางตำแหน่งให้เล็งไปยังหม้อคั่วกาแฟ
ผลผลิตที่ได้คือกาแฟที่ผลิตจากพลังงานสะอาดที่สุด
และก็ใช้ประเด็นนี้ เป็นจุดขาย กาแฟยี่ห้อ “Solar Roast Coffee” พร้อมกับสโลแกนเท่ๆว่า “Sun in your cup”

ถ้านำเข้าสินค้าตัวนี้มาขาย และแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่าย
“กาแฟแดดเดียว” พอไหวมั๊ยครับ

http://www.solarroast.com/index.html

ไก่ย่างพลังงานแสงอาทิตย์


คุณศิลา สิทธาราษฎร์ ขายไทยวัย 50 ปีื เป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การใช้เลนส์ในการจุดไฟจากแสงอาทิตย์มาตั้งแต่เด็ก ก็เลยคิดค้นเตาย่างไก่ โดยใช้พลังงานจากแสงอาิทิตย์ล้วนๆ ด้วยการออกแบบกระจกเงาแบบพิเศษ ช่วยให้เตาย่างดูดซับพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์ สามารถย่างไก่ที่หมักเครื่องปรุงไว้แล้ว ขนาด 1.5 กิโลกรัม สุกในเวลา 10 นาที ในแต่ละวันคุณศิลา ขายไก่ย่างได้ 50 ตัว ในราคาตัวละประมาณ 150 บาท แต่ว่าเนื่องจากใช้พลังจากแสงอาทิตย์โดยตรง ทำให้สามารถขายได้ในวันที่แดดดี ไม่มีฝน และจะขายตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 11 โมงเท่านั้น ส่วนสถานที่ขายใน website ไม่ได้บอกรายละเอียด บอกแต่เพียงว่าอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 55 ไมล์ การคิดค้นของคุณศิลา เป็นที่สนใจของต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ตอนนี้อยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อจะนำ Technique นี้ไปพัฒนา

Ref: http://vc.gog.com.cn/system/2008/04/24/010259617.shtml
http://megamisc.blogspot.com/2008/06/blog-post_14.html

ปรุงอาหาร พลังแสงอาทิตย์



















Ref:http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=26-02-2009&group=12&gblog=43

31.5.10

การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system)
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ



การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system)
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า



การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ


หลักการทำงาน เซลล์แสงอาทิตย์

หลักการทำงานเซลล์แสงอาทิตย์
การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเลคตรอน) ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้ (ตามรูป)

1. n - type ซิลิคอน ซึ่งอยู่ด้านหน้าของเซลล์ คือ สารกึ่งตัวนำที่ได้การโดปปิ้งด้วยสารฟอสฟอรัส มีคุณสมบัติเป็นตัวให้อิเล็กตรอนเมื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์
p - type ซิลิคอน คือสารกึ่งตัวนำที่ได้การโดปปิ้งด้วยสารโบรอน ทำให้โครงสร้างของอะตอมสูญเสียอิเล็กตรอน (โฮล) เมื่อรับพลังงาน จากแสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน เมื่อนำซิลิคอนทั้ง 2 ชนิด มาประกบต่อกันด้วย p - n junction จึงทำให้เกิดเป็น " เซลล์แสงอาทิตย์ " ในสภาวะที่ยังไม่มีแสงแดด n - type ซิลิคอนซึ่งอยู่ด้านหน้าของเซลล์ ส่วนประกอบส่วนใหญ่พร้อมจะให้อิเล็กตรอน แต่ก็ยังมีโฮลปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย ด้านหน้าของ n - type จะมีแถบโลหะเรียกว่า Front Electrode ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน ส่วน p - type ซิลิคอนซึ่งอยู่ด้านหลังของเซลล ์ โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นโฮล แต่ยังคงมีอิเล็กตรอนปะปนบ้างเล็กน้อย ด้านหลังของ p - type ซิลิคอนจะมีแถบโลหะเรียกว่า Back Electrode ทำหน้าที่เป็นตัวรวบรวมโฮล

2. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ แสงอาทิตย์จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอนและโฮล ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เมื่อพลังสูงพอทั้งอิเล็กตรอนและโฮลจะวิ่งเข้าหาเพื่อจับคู่กัน อิเล็กตรอนจะวิ่งไปยังชั้น n - type และโฮลจะวิ่งไปยังชั้น p type

3. อิเล็กตรอนวิ่งไปรวมกันที่ Front Electrode และโฮลวิ่งไปรวมกันที่ Back Electrode เมื่อมีการต่อวงจรไฟฟ้าจาก Front Electrode และ Back Elec trode ให้ครบวงจร ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เนื่องจากทั้งอิเล็กตรอนและโฮลจะวิ่งเพื่อจับคู่กัน

ขบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์

วัสดุที่ใช้ทำเซลล์แสงอาทิตย์

วัสดุสำคัญที่ใช้ทำเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบันได้แก่ สารซิลิคอน (Si) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชิพในคอมพิวเตอร์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ซิลิคอนเป็นสารซึ่งไม่เป็นพิษ มีการนำมาผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมีราคาถูก คงทน และเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีวัสดุชนิดอื่นที่สามารถนำมาผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้ เช่น แกลเลียมอาเซไนด์ CIS และ แคดเมียมเทลเลอไรด์ แต่ยังมีราคาสูง และบางชนิดยังไม่มีการพิสูจน์เรื่องอายุการใช้งานว่าสามารถใช้งานได้นาน

ข้อเสียของ Si : การทำให้บริสุทธิ์และอยู่ในรูปสารที่พร้อมจะทำเซลล์ฯ มีราคาแพง และ แตกหักง่ายในขบวนการผลิต

ขั้นตอนการผลิตสารซิลิคอนบริสุทธิ์

1) การผลิต MG-Si จากหินควอทไซต์หรือทราย
SiO2+ 2C ----> Si + 2CO (ปฏิกิริยาภายในเตาหลอม)
ความบริสุทธิของ Si 98 - 99%
2) การผลิต SeG-Si จาก MG-Si
2.1) เปลี่ยนสถานะ Si เป็นแก๊ส โดยวิธี Fractional Distillation
Si + 3 HCl -------> SiHCl3+ H2
2.2) SiHCl3 ทำปฏิกริยากับ H2 ได้ Si บริสุทธิ์ 99.999%
SiHCl3 + H2 -------> Si + HCl
เป็นการทำ Si ให้บริสุทธิ์ ขั้นตอนนี้ได้ Polycrystal


ขบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ แบบผลึกเดี่ยว ( Single Crystalline )
การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ แบบผลึกเดี่ยว ( Single Crystalline ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mono-Crystallineการเตรียมสารซิลิคอนชนิดนี้ เริ่มต้นจากนำสารซิลิคอนซึ่งผ่านการทำให้เป็นก้อนที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก (99.999%) มาหลอมละลายในเตา Induction Furnace ที่อุณหภูมิสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อทำการสร้างแท่งผลึกเดี่ยวขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว) พร้อมกับใส่สารเจือปน Boron เพื่อทำให้เกิด P-type แล้วทำให้เกิดการเย็นตัวจับตัวกันเป็นผลึกด้วย Seed ซึ่งจะตกผลึกมีขนาดหน้าตัดใหญ่ แล้วค่อยๆ ดึงแท่งผลึกนี้ขึ้นจากเตาหลอม ด้วยเทคโนโลยีการดึงผลึก จะได้แท่งผลึกยาวเป็นรูปทรงกระบอก คุณภาพของผลึกเดี่ยวจะสำคัญมากต่อคุณสมบัติของเซลล์แสงอาทิตย์ จากนั้นนำแท่งผลึกมาตัดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ด้วยลวดตัดเพชร (Wire Cut) เรียกว่า เวเฟอร์ ซึ่งจะได้แผ่นผลึกมีความหนาประมาณ 300 ไมโครเมตร และขัดความเรียบของผิว จาก นั้นก็จะนำไปเจือสารที่จำเป็นในการทำให้เกิดเป็น p-n junction ขึ้นบนแผ่นเวเฟอร์ ด้วยวิธีการ Diffusion ที่อุณหภูมิระดับ 1,000 องศาเซลเซียสจากนั้นนำไปทำขั้วไฟฟ้าเพื่อนำกระแสไฟออกใช้ ที่ผิวบนจะเป็นขั้วลบ ส่วนผิวล่างเป็นขั้วบวก ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการเคลือบฟิลม์ผิวหน้าเพื่อป้องกันการสะท้อนแสงให้น้อยที่สุด ตอนนี้จะได้เซลล์ที่พร้อมใช้งาน หลังจากนั้นก็นำไปประกอบเข้าแผงโดยใช้กระจกเป็นเกราะป้องกันแผ่นเซลล์ และใช้ซิลิโคน และ อีวีเอ (Ethelele Vinyl Acetate) ช่วยป้องกันความชื้น ในการใช้งานจริง เราจะนำเซลล์แต่ละเซลล์มาต่ออนุกรมกันเพื่อเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ได้ตามต้องการ


การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ แบบผลึกรวม ( Poly Crystalline )การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์โดยวิธีนี้ จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าวิธีแรก คือการทำแผ่นเซลล์ จะใช้วิธีการหลอมสารซิลิคอนให้ละลายพร้อมกับใส่สารเจือปน Boron เพื่อทำให้เกิด P-type แล้วเทลงในแบบพิมพ์ เมื่อสารละลายซิลิคอนแข็งตัวก็จะได้เป็นแท่งซิลิคอนแบบผลึกรวม ( ตกผลึกไม่พร้อมกัน ) จากนั้นนำไปตัดเป็นแผ่นเช่นเดียวกับแบบผลึกเดี่ยว ความแตกต่างระหว่างแบบผลึกเดี่ยวและแบบผลึกรวมสังเกตได้จากผิวผลึก ถ้ามีโทนสีที่แตกต่างกันซึ่งเกิดจากผลึกเล็กq หลายผลึกในแผ่นเซลล์จะเป็นแบบผลึกรวม ในขณะที่แบบผลึกเดี่ยวจะเห็นเป็นผลึกเนื้อเดียว คือ มีสีเดียวตลอดทั้งแผ่น ส่วนกรรมวิธีการผลิตเซลล์ที่เหลือจะเหมือนกัน เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกรวม (Poly Crystalline) จะให้ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบผลึกเดี่ยว ประมาณ 2-3 % อย่างไรก็ตามเซลล์ทั้ง 2 ชนิด มีข้อเสียในการผลิต คือ แตกหักง่ายเช่นกัน

ส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์



แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากเซลล์แสงอาทิตย์เพียงเซลล์เดียวจะมีค่าต่ำมาก การนำมาใช้งานจะต้องนำเซลล์หลาย ๆ เซลล์ มาต่อกันแบบอนุกรมเพื่อเพิ่มค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูงขึ้น เซลล์ที่นำมาต่อกันในจำนวนและขนาดที่เหมาะสมเรียกว่า แผงเซลล์แสง อาทิตย์ (Solar Module หรือ Solar Panel)
การทำเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นแผงก็เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ด้านหน้าของแผงเซลล์ ประกอบด้วย แผ่นกระจกที่ มีส่วนผสมของเหล็กต่ำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยอมให้แสงผ่านได้ดี และยังเป็นเกราะป้องกันแผ่นเซลล์อีกด้วย แผงเซลล์จะต้องมีการ ป้องกันความชื้นที่ดีมาก เพราะจะต้องอยู่กลางแดดกลางฝนเป็นเวลายาวนาน ในการประกอบจะต้องใช้วัสดุที่มีความคงทนและป้อง กันความชื้นที่ดี เช่น ซิลิโคนและ อีวีเอ (Ethelele Vinyl Acetate) เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันแผ่นกระจกด้านบนของแผงเซลล์ จึง ต้องมีการทำกรอบด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง แต่บางครั้งก็ไม่มีความจำเป็น ถ้ามีการเสริมความแข็งแรงของแผ่นกระจกให้เพียงพอ ซึ่งก็สามารถทดแทนการทำกรอบได้เช่นกัน ดังนั้นแผงเซลล์จึงมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ (laminate) ซึ่งสะดวกในการติดตั้ง

Solar Heater

Link:พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตน้ำร้อน (ระบบผสมผสาน)





เครื่องทำน้ำร้อนระบบโซล่าร์


เป็นระบบการทำน้ำอุ่นด้วยแสงอาทิตย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ระบบจะเริ่มทำงาน แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ จะถูกดูดซับและส่ง ถ่ายความร้อนให้กับน้ำ ซึ่งอยู่ภายในท่อทองแดงที่ยึดแน่นด้วยแรงอัดด้านใต้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำจะเกิดการไหลเวียนตามธรรมชาติ และรับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเช่นนี้ตลอดเวลา น้ำร้อนในถังเก็บจะมีอุณหภูมิสูงถึง 60-80 องศาเซลเซียล ต่อเข้ากับระบบท่อน้ำร้อนที่สร้างเตรียมไว้หรือมีอยู่แล้วก็สามารถนำน้ำไปใช้งานได้ การติดตั้งสามารถทำได้ทั้งบนหลังคาทุกรูปแบบและตั้งบนพื้น (แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า) และมีระบบไฟฟ้าสำรองสำหรับเวลาที่ไม่มีแดดหรือแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ(ฤดูฝน) ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าคุณจะมีน้ำใช้อย่างแน่นอน (ระบบไฟฟ้าจะถูกนำมาใช้เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น) และมีฉนวนกันความร้อนโฟมโปลียูเรเธน ช่วยเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้ในยามค่ำคืน ทำให้คุณแน่ใจได้ว่าคุณจะมีน้ำอุ่นใช้อย่างแน่นนอนในทุกๆวัน


Description
Indirect

CX

Overall Dimension


Capacity
180 Lites
300 Lites

Overall Dimension (LxWxH)
1490 x 2430 x 510 mm.
2290 x 2430 x 510 mm.

Outer Tank Diameter
510 mm.
510 mm.

Overall Weight ( Empty )
89 kg.
135 kg.

Overall Weight ( Full )
274 kg.
445 kg.

Storage Tank


Outer Cylinder Case Material
Zinclume

Tank Insulation
High Density Pressure Injected Polyurethane Foam

End Cover Material
Zinclume

Collector


Design
Plate & Tube

Plate Material
Aluminium / Copper

Surface Coating
Matt Black Polyester

Riser Tube Material
Copper

Rise Tube Quantity
6

Height
80 mm

Net Absorber Area
2 sqm.

Casing Material
Zinclume

Glass Material
Tempered Glass

Glass Thickness
4mm Thickness

คุณสมบัติและตัวแปรที่สำคัญของเซลล์แสงอาทิตย์

คุณสมบัติและตัวแปรที่สำคัญของเซลล์แสงอาทิตย์
ตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละพื้นที่ต่างกัน และมีความสำคัญในการพิจารณานำไปใช้ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการนำไปคำนวณระบบหรือคำนวณจำนวนแผงแสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ มีดังนี้

1. ความเข้มของแสง
กระแสไฟ (Current) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มของแสง หมายความว่าเมื่อความเข้มของแสงสูง กระแสที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ก็จะสูงขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์แทบจะไม่แปรไปตามความเข้มของแสงมากนัก ความเข้มของแสงที่ใช้วัดเป็นมาตรฐานคือ ความเข้มของแสงที่วัดบนพื้นโลกในสภาพอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกและวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข้ม ของแสงจะมีค่าเท่ากับ 100 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 1,000 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM 1.5 (Air Mass 1.5) และถ้าแสงอาทิตย์ทำมุม 60 องศากับพื้นโลกความเข้มของแสง จะมีค่าเท่ากับประมาณ 75 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 750 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM2 กรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะใช้ค่า AM 1.5 เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพของแผง

2. อุณหภูมิ
กระแสไฟ (Current) จะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) จะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 1 องศาที่เพิ่มขึ้น จะทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง 0.5% และในกรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐานที่ใช้กำหนดประสิทธิภาพของแผงแสงอาทิตย์คือ ณ อุณหภูมิ 25 องศา C เช่น กำหนดไว้ว่าแผงแสงอาทิตย์มีแรงดันไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit Voltage หรือ V oc) ที่ 21 V ณ อุณหภูมิ 25 องศา C ก็จะหมายความว่า แรงดันไฟฟ้าที่จะได้จากแผงแสงอาทิตย์ เมื่อยังไม่ได้ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ณ อุณหภูมิ 25 องศา C จะเท่ากับ 21 V ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศา C เช่น อุณหภูมิ 30 องศา C จะทำให้แรงดันไฟฟ้าของแผงแสงอาทิตย์ลดลง 2.5% (0.5% x 5 องศา C) นั่นคือ แรงดันของแผงแสงอาทิตย์ที่ V oc จะลดลง 0.525 V (21 V x 2.5%) เหลือเพียง 20.475 V (21V – 0.525V) สรุปได้ว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แรงดันไฟฟ้าก็จะลดลง ซึ่งมีผลทำให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดของแผงแสงอาทิตย์ลดลงด้วย

จากข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ก่อนที่ผู้ใช้จะเลือกใช้แผงแสงอาทิตย์ จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของแผงที่ระบุไว้ในแผงแต่ละชนิดด้วยว่า ใช้มาตรฐานอะไร หรือมาตรฐานที่ใช้วัดแตกต่างกันหรือไม่ เช่นแผงชนิดหนึ่งระบุว่า ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 80 วัตต์ ที่ความเข้มแสง 1,200 W ต่อ ตร.เมตร ณ อุณหภูมิ 20 องศา C ขณะที่อีกชนิดหนึ่งระบุว่า ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 75 วัตต์ ที่ความเข้มแสง 1,000 W ต่อ ตร.เมตร และอุณหภูมิมาตรฐาน 25 องศา C แล้ว จะพบว่าแผงที่ระบุว่าให้กำลังไฟฟ้า 80 W จะให้กำลังไฟฟ้าต่ำกว่า จากสาเหตุดังกล่าว ผู้ที่จะใช้แผงจึงต้องคำนึงถึงข้อกำหนดเหล่านี้ในการเลือกใช้แผงแต่ละชนิดด้วย

การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีจุดเด่นที่สำคัญ แตกต่างจากวิธีอื่นหลายประการ ดังต่อไปนี้

ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงทำให้ไม่มีมลภาวะทางเสียง
ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า
มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด
สามารถผลิตเป็นแผงขนาดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณมาก
ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ
เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุด
ผลิตไฟฟ้าได้ทุกมุมโลกแม้บนเกาะเล็กๆ กลางทะเล บนยอดเขาสูง และในอวกาศ
ได้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงซึ่งเป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้สะดวกที่สุดดังนั้น ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นความหวังของคนทั่วโลก ในศตวรรษที่ 21 ที่จะมาถึงในอีกไม่นาน

Solar lighting


The history of lighting is dominated by the use of natural light. The Romans recognized a right to light as early as the 6th century and English law echoed these judgments with the Prescription Act of 1832.In the 20th century artificial lighting became the main source of interior illumination but daylighting techniques and hybrid solar lighting solutions are ways to reduce energy consumption.

Daylighting systems collect and distribute sunlight to provide interior illumination. This passive technology directly offsets energy use by replacing artificial lighting, and indirectly offsets non-solar energy use by reducing the need for air-conditioning. Although difficult to quantify, the use of natural lighting also offers physiological and psychological benefits compared to artificial lighting. Daylighting design implies careful selection of window types, sizes and orientation; exterior shading devices may be considered as well. Individual features include sawtooth roofs, clerestory windows, light shelves, skylights and light tubes. They may be incorporated into existing structures, but are most effective when integrated into a solar design package that accounts for factors such as glare, heat flux and time-of-use. When daylighting features are properly implemented they can reduce lighting-related energy requirements by 25%.

Hybrid solar lighting is an active solar method of providing interior illumination. HSL systems collect sunlight using focusing mirrors that track the Sun and use optical fibers to transmit it inside the building to supplement conventional lighting. In single-story applications these systems are able to transmit 50% of the direct sunlight received.

Solar lights that charge during the day and light up at dusk are a common sight along walkways.[citation needed]

Although daylight saving time is promoted as a way to use sunlight to save energy, recent research has been limited and reports contradictory results: several studies report savings, but just as many suggest no effect or even a net loss, particularly when gasoline consumption is taken into account. Electricity use is greatly affected by geography, climate and economics, making it hard to generalize from single studies.[

Energy from the Sun




Solar energy, radiant light and heat from the sun, has been harnessed by humans since ancient times using a range of ever-evolving technologies. Solar radiation, along with secondary solar-powered resources such as wind and wave power, hydroelectricity and biomass, account for most of the available renewable energy on earth. Only a minuscule fraction of the available solar energy is used.

Solar powered electrical generation relies on heat engines and photovoltaics. Solar energy's uses are limited only by human ingenuity. A partial list of solar applications includes space heating and cooling through solar architecture, potable water via distillation and disinfection, daylighting, solar hot water, solar cooking, and high temperature process heat for industrial purposes.To harvest the solar energy, the most common way is to use solar panels.


Solar technologies are broadly characterized as either passive solar or active solar depending on the way they capture, convert and distribute solar energy. Active solar techniques include the use of photovoltaic panels and solar thermal collectors to harness the energy. Passive solar techniques include orienting a building to the Sun, selecting materials with favorable thermal mass or light dispersing properties, and designing spaces that naturally circulate air.

The Earth receives 174 petawatts (PW) of incoming solar radiation (insolation) at the upper atmosphere. Approximately 30% is reflected back to space while the rest is absorbed by clouds, oceans and land masses. The spectrum of solar light at the Earth's surface is mostly spread across the visible and near-infrared ranges with a small part in the near-ultraviolet.


Earth's land surface, oceans and atmosphere absorb solar radiation, and this raises their temperature. Warm air containing evaporated water from the oceans rises, causing atmospheric circulation or convection. When the air reaches a high altitude, where the temperature is low, water vapor condenses into clouds, which rain onto the Earth's surface, completing the water cycle. The latent heat of water condensation amplifies convection, producing atmospheric phenomena such as wind, cyclones and anti-cyclones. Sunlight absorbed by the oceans and land masses keeps the surface at an average temperature of 14 °C. By photosynthesis green plants convert solar energy into chemical energy, which produces food, wood and the biomass from which fossil fuels are derived.

Yearly Solar fluxes & Human Energy Consumption
Solar 3,850,000 EJ
Wind 2,250 EJ
Biomass 3,000 EJ
Primary energy use (2005) 487 EJ
Electricity (2005) 56.7 EJ
The total solar energy absorbed by Earth's atmosphere, oceans and land masses is approximately 3,850,000 exajoules (EJ) per year. In 2002, this was more energy in one hour than the world used in one year. Photosynthesis captures approximately 3,000 EJ per year in biomass. The amount of solar energy reaching the surface of the planet is so vast that in one year it is about twice as much as will ever be obtained from all of the Earth's non-renewable resources of coal, oil, natural gas, and mined uranium combined.

From the table of resources it would appear that solar, wind or biomass would be sufficient to supply all of our energy needs, however, the increased use of biomass has had a negative effect on global warming and dramatically increased food prices by diverting forests and crops into biofuel production. As intermittent resources, solar and wind raise other issues.

Solar energy can be harnessed in different levels around the world. Depending on a geographical location the closer to the equator the more "potential" solar energy is available.

Pages

HOME